เคล็ดลับการเลือกใช้ Rapid Shutdown ที่ตอบโจทย์ความปลอดภัย และรองรับมาตรฐานใหม่ของวสท.
เป็นที่ทราบกันดีว่า ความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 1,000 โวลต์ หากเกิดเหตุฉุกเฉินด้วยสาเหตุต่าง ๆ นานา เช่น ไฟไหม้ สายไฟของระบบโซล่าร์เกิดหลอมละลาย หรือเสียหายจนฉนวนเปิด ระบบไฟในโรงงานขัดข้อง หรือระบบไฟจากสายส่งขัดข้อง หรือมีเหตุให้คนต้องไปสัมผัสกับสายไฟที่ไม่มีฉนวน หากมีอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) ทำให้แรงดันไฟอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน จะช่วยลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ในบรรดาอินเวอร์เตอร์ที่ใช้ผลิตไฟจากโซล่าร์เซลล์ SolarEdge ถือที่เป็นแบรนด์ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยมานานแล้ว นับตั้งแต่จำหน่ายอินเวอร์เตอร์ เครื่องแรก ในปี พ.ศ. 2557 โดยมีระบบ SafeDCTM ซึ่งเป็นระบบลดแรงดันสตริงที่มีคอนเซ็ปต์การทำงานเหมือนอุปกรณ์ Rapid Shutdown รวมทั้ง Rapid Shutdown ที่ประเทศไทยเพิ่งประกาศใช้มาตรฐานในปีนี้ ปัจจุบัน SolarEdge จึงพรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีความปลอดภัย ตั้งแต่ SafeDCTM และ Rapid Shutdown ซึ่งผ่านมาตรฐานระดับโลกทั้ง NEC และ FM Global
อุปกรณ์ Rapid Shutdown เป็นระบบมาตรฐานความปลอดภัยที่บังคับใช้ในระบบ Photovoltaic System ทำหน้าที่ลดแรงดันในระดับที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับความปลอดภัยให้ระบบ ในกรณีที่อินเวอร์เตอร์ดับ ระบบไฟฟ้าขัดข้องหรือการไฟฟ้ามีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ปกติเมื่อไฟอินเวอร์เตอร์ดับแล้วน่าจะปลอดภัย แต่ไฟที่ผลิตจากแผงโซล่าร์เซลล์บนหลังคายังทำงานอยู่ สายไฟบนหลังคาลงมาถึงตัวอินเวอร์เตอร์ก็ยังคงมีแรงดันไฟฟ้าในค่าที่สูงมาก เจ้าหน้าที่ที่ต้องเข้ามาแก้ไขอาจคิดว่าในสายไฟและจุดเชื่อมต่อทั่วบริเวณนั้นไม่มีไฟ อาจไปสัมผัสจนเกิดอันตรายร้ายแรงได้ หากติดตั้ง Rapid Shutdown ที่มีบทบาทลดแรงดันไฟให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้ที่เข้าไปสัมผัส โดยเฉพาะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เกิดเหตุเพลิงไหม้ ตึกถล่ม เจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็จะสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความปลอดภัย ลดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้ทันท่วงที ดังนั้นการติดตั้ง Rapid Shutdown ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบมีความปลอดภัยนับตั้งแต่ติดตั้งจนกระทั่งบำรุงรักษา
ในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มนำอุปกรณ์ Rapid Shutdown มาใช้เป็นครั้งแรก พร้อมออกมาตรฐาน NEC ซึ่งเป็นมาตรฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้การยอมรับระดับโลก (Global Standard) ประกอบด้วย มาตรฐาน NEC 2014 NEC 2014 ล่าสุด NEC 2020 รวมทั้งมาตรฐาน FM Global ที่ต้องมีอุปกรณ์ลดแรงดันไฟฟ้าในระดับ Module Level ซึ่งระบุตัวอย่างเป็น DC Optimizer ซึ่งเป็นวิธีการออกแบบทางวิศวกรรมในการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อป วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ก็เขียนมาตรฐานออกมาไปในทางเดียวกัน

สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 ได้กำหนดให้ใช้อุปกรณ์ Rapid Shutdown เช่นกัน โดยนับตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 วสท. ได้ประกาศใช้มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา พ.ศ. 2565 จะต้องมี Rapid Shutdown เพื่อตัดไฟในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน ประเด็นสำคัญของมาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้มี 3 ข้อหลัก ๆ คือ
1. ขยายขอบเขตการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ที่รวมถึงระบบจัดกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้า (Battery Energy Storage System : BESS) อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าเพื่อประจุและคายประจุไฟฟ้าสำหรับแบตเตอรี่
2. ขยายขอบเขต PV Array ที่ติดตั้งใช้งานบนอาคารต้องมีค่า VOC Array ดังนี้ ขยายขอบเขตแรงดันบ้านพักอาศัย จากเดิมไม่เกิน 600 โวลต์ เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 โวลต์ ส่วนอาคารพาณิชย์โรงงาน จากเดิมไม่เกิน 1,000 โวลต์ขยายเป็น 1,500 โวลต์
3. มีการเพิ่มข้อบังคับติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉินในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา เรียกว่า Rapid Shutdown
ส่วนอุปกรณ์หยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) ในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา จะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ลดแรงดันไฟฟ้าในบริเวณ Array Boundary หรือขอบเขตโดยรอบ PV Array ระยะ 300 มม. ในทุกทิศทาง ให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที หรือใช้อุปกรณ์ควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟดูด ซึ่งจะเกิดอันตรายต่อพนักงานดับเพลิง โดยจะต้องมีผลการทดสอบตามขั้นตอน หรือใบรับรองตามมาตรฐาน UL 3741 จากสหรัฐอเมริกา ในส่วนของรายงานผลการทดสอบต้องออกโดยสถาบันหรือหน่วยงานทดสอบที่เป็นกลาง และได้มาตรฐาน ได้แก่ TUV, VDE, Bureau Veritas, UL, CSA, Intertek หรือ PTEC
จะเห็นได้ว่า วสท. ได้นำมาตรฐาน NEC 2020 ซึ่งเป็นมาตรฐานฉบับล่าสุดของสหรัฐอเมริกามาประยุกต์ใช้เพื่อวางมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2565 โดยหลักการของมาตรฐาน NEC 2020 จะต้องผ่านมาตรฐาน 1 ใน 2 ข้อ กล่าวคือ
1. ระบบต้องผ่าน PV Hazard Control System ให้ไปดูที่มาตรฐาน UL 3741
2. ต้องมีตัวควบคุม Array Boundary ที่ลดแรงดันในทุกทิศทางให้เหลือไม่เกิน 80 โวลต์ ภายใน 30 วินาที ทั้งนี้มาตรฐาน NEC 2020 กำหนดไว้ว่าให้หากมีมาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งถือว่าผ่านมาตรฐาน NEC 2020 ซึ่งวสท.นำมาตรฐานทั้งสองข้อมาเขียนรวบในข้อ 1 เป็นการเขียนความหมายเดียวกัน คือ ถ้ามีมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งถือว่าผ่านมาตรฐาน NEC 2020
นอกจากมาตรฐาน NEC 2020 แล้ว ในเดือนธันวาคม 2020 ได้มีการออกมาตรฐาน UL 3741 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับ Rapid Shutdown หรือที่ต่างประเทศนิยมเรียกกันว่า Photovoltaic Hazard Control System ใช้เพื่อควบคุม Hazard Current ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน โดยพิจารณาที่แรงดันไฟ (Voltage) เป็นหลัก ๆ สำหรับมาตรฐาน UL 3741 แจกแจงระดับ Hazard หลายระดับ โดยระดับที่สามารถทำให้ระบบอยู่ในความปลอดภัย คือ Hazard Level 1 ซึ่งมีแรงดันไฟน้อยกว่า 40 มิลลิแอมป์ หรือ 165.6 โวลต์ ถ้ามีคนไปสัมผัส กล้ามเนื้อจะกระตุกเท่านั้น ขณะที่มาตรฐาน UL 3741 จะกำหนด Hazard Level 1 แรงดันไม่ถึง 165.6 โวลต์ แต่ SolarEdge มีขีดจำกัดการทำงานของอุปกรณ์สูงสุดเพียง 125 โวลต์ จึงมั่นใจได้ในความปลอดภัย ที่สำคัญ Power Optimizer แบบ 2:1 ของ SolarEdge ซึ่งเป็น Power Optimizer ที่ต่อแบบ 2 แผงทุก 1 เครื่อง ผ่านมาตรฐาน UL 3741 โดยได้รับการรับรองจาก Intertek
2. ลดแรงดันทันทีไฟฟ้าสายเคเบิลที่อยู่นอกบริเวณ Array Boundary ให้เหลือไม่เกิน 30 โวลต์ ภายใน 30 วินาที หมายถึง ภายใน 30 วินาที เจ้าหน้าที่สามารถดับเพลิงได้ทันที ซึ่งเป็นมาตรฐานปกติของ Rapid Shutdown ที่อ้างอิงจากมาตรฐาน UL 3741 เนื่องจาก Rapid Shutdown ของ SolarEdge เป็นระบบ Built-in จึงไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มแต่อย่างใด ส่วนการทำงานของ Rapid Shutdown ถ้าหากไฟ AC ดับ หรือมีการสับเบรกเกอร์หรือการไฟฟ้าบำรุงรักษาระบบไฟแล้วอินเวอร์เตอร์จะสั่งไปที่ Power Optimizer เพื่อให้ลดแรงดันโดยอัตโนมัติ
Rapid Shutdown และมาตรฐาน วสท. สำหรับการติดตั้งระบบโซล่าร์บนหลังคา
3. ต้องมีการระบุอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่หยุดทำงานฉุกเฉิน โดยติดตั้งสวิตช์เริ่มการทำงานในตำแหน่งที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้ง่าย เช่น ผนังใกล้ทางเข้าอาคาร ถ้าเป็น Rapid Shutdown ทั่วไป หลักการทำงานต้องควบคุมผ่าน PLC เพื่อการตัดไฟไปยังอุปกรณ์ Rapid Shutdown แต่ SolarEdge จะทำงานอัตโนมัติ โดยมีการสื่อสารระหว่างอินเวอร์เตอร์และ Power Optimizer เอง หาก Solar Main Breaker ทริป ไม่ว่าจากไฟดับ ระบบไฟขัดข้อง หรือกดปุ่มหยุดทำงานฉุกเฉิน อินเวอร์เตอร์จะส่งสัญญาญให้ Power Optimizer ลดแรงดันให้เหลือเพียง 1 โวลต์ต่อเครื่องภายใน 30 วินาที

นอกจากนี้ SolarEdge ยังมีทางเลือกให้ลูกค้าเลือกติดตั้ง Fire Fighter Gateway เพิ่มได้ โดย Fire Fighter Gateway สามารถต่อสายเชื่อมกับแผงสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm Panel) ของโรงงานได้ หากมีสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm) ไม่ว่าเกิดจากอาคารนี้หรืออาคารอื่น Fire Fighter Gateway ก็จะส่งสัญญาณเพื่อให้ Power Optimizer ลดแรงดันเพื่อความปลอดภัยต่อไป
ในส่วนของ ARC Fault Circuit Interrupter (AFCI กระแสตรง) ซึ่งมาตรฐาน วสท. กำหนดไว้ว่า ระบบทุกระบบจะต้องมี AFCI เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ เนื่องจากความบกพร่องจากอาร์ค (ARC Fault) ด้านกระแสตรงภายใน 2.5 วินาที สำหรับ SolarEdge มี ARC Fault Protection ทุกตัวและได้รับใบรับรองตามมาตรฐาน UL1699B
Rapid Shutdown แบรนด์ SolarEdge ตอบโจทย์ความปลอดภัยในการผลิตไฟจากระบบโซล่าร์รูฟท็อปด้วยมาตรฐานระดับโลกและมาตรฐานฉบับใหม่ของ วสท. มาพร้อมคุณสมบัติสำคัญที่โดดเด่น 3 ประการ ดังนี้
ในส่วนของ ARC Fault Circuit Interrupter (AFCI กระแสตรง) ซึ่งมาตรฐาน วสท. กำหนดไว้ว่า ระบบทุกระบบจะต้องมี AFCI เพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ เนื่องจากความบกพร่องจากอาร์ค (ARC Fault) ด้านกระแสตรงภายใน 2.5 วินาที สำหรับ SolarEdge มี ARC Fault Protection ทุกตัวและได้รับใบรับรองตามมาตรฐาน UL1699B

1. มีระบบ Built-in ที่ครบจบอยู่ในเครื่องเดียว โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีปัญหาในการใช้งาน และต้องเผชิญความเสี่ยงหากซื้ออุปกรณ์จาก 2 แบรนด์ว่าจะใช้งานด้วยกันได้หรือไม่ ในระยะยาวจะมีปัญหาหรือไม่ ขณะเดียวกันราคา Rapid Shutdown ของ SolarEdge ไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น อีกทั้งยังรับประกันอินเวอร์เตอร์เริ่มต้น 12 ปี สามารถขยายได้ถึง 20 ปี ส่วน Power Optimizer รับประกัน 25 ปี เนื่องจาก Power Optimizer ของ SolarEdge ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ทำงานลดแรงดัน ซึ่งก็คือ Rapid Shutdown หมายความว่า การลงทุน Rapid Shutdown 1 เครื่อง รับประกันยาวนาน 25 ปี ตลอดอายุของโครงการ
2. อุปกรณ์ SolarEdge มีจำหน่ายทั่วโลก ซึ่งได้เป็นที่ยอมรับและได้รับมาตรฐานการรับรองในหลายๆทวีป รวมทั้งมาตรฐานในประเทศไทยเองก็ตาม โดยเฉพาะมาตรฐานการติดตั้งของ วสท. ที่ออกมาในปี พ.ศ. 2565 ได้แก่ รุ่น SE90K เป็นรุ่นที่ใช้ Rapid Shutdown ที่ผ่านมาตรฐาน NEC 2020 และสอดคล้องกับมาตรฐานฉบับใหม่ปี พ.ศ. 2565 ของ วสท. ซึ่งทุกเครื่องมาพร้อมแพลตฟอร์ม Monitoring ที่สามารถเข้าไปดูได้ระดับรายแผง อีกทั้งยังรองรับมาตรฐาน FM Global นอกจากนี้ยังได้รับใบรับรองตามมาตรฐานความปลอดภัย UL 1741 และ UL1699B ซึ่งวสท. ไม่ได้กำหนดไว้ แต่ SolarEdge ผ่านมาตรฐานนี้ จึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ SolarEdge ทุกเครื่องปลอดภัยต่อการใช้งาน การันตีจากการผ่านมาตรฐานการทดสอบต่าง ๆ ระดับโลก


3. สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ SolarEdge โดดเด่นและแตกต่างจากหลาย ๆ แบรนด์ คือ ระบบ Rapid Shutdown ที่มาพร้อมระบบ Monitoring ในระดับแผง ปกติการทำงานของ Rapid Shutdown ทั่วไปจะไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าระดับแรงดันบนหลังคาลดลงเหลือเท่าใด หากเป็น SolarEdge หลังจากที่กดสวิตช์หยุดทำงานฉุกเฉินหรือ Solar Breaker ทริป เราสามารถดูผ่านระบบ Monitoring ได้เรียลไทม์ว่าแรงดัน ณ ขณะนั้นได้ลดลงจนอยู่ในระดับปลอดภัยต่อการสัมผัสอุปกรณ์แล้วหรือไม่ อีกทั้งระบบ Rapid Shutdown ของ SolarEdge ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อไฟ AC ดับ ทำให้ปลอดภัยสูงกว่าแบรนด์อื่นเป็นอย่างมาก หากเป็นระบบ Rapid Shutdown แบรนด์อื่น ๆ อาจไม่ได้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ เช่น ต้องกดสวิตช์ถึงจะทำงาน
นอกจากนี้ เราสามารถมองเห็นการทำงานของ Rapid Shutdown ผ่าน Power Optimizer ของ SolarEdge ได้ตลอดเวลาผ่านระบบ Monitoring หากอุปกรณ์เสีย ระบบก็จะมีการแจ้งเตือนให้เปลี่ยนอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าแผงทุกแผงจะถูกควบคุมแรงดันที่ปล่อยออกมาในขณะเกิดเหตุฉุกเฉินโดยฟังก์ชั่น Rapid Shutdown ของ Power Optimizer ขณะที่อุปกรณ์ Rapid Shutdown หลาย ๆ แบรนด์ไม่สามารถมองเห็นการทำงานได้อย่างเรียลไทม์ ทำให้ไม่ทราบการเสียหรือเสื่อมสภาพ หากเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วไม่ทำงาน ก็จะเป็นความเสี่ยงของทั้งชีวิตและทรัพย์สินในบริเวณนั้น ๆ
การเลือกใช้อินเวอร์เตอร์กับอุปกรณ์ Rapid Shutdown ต่างแบรนด์กัน ไม่สามารถรับประกันว่าจะทำงานด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากอุปกรณ์เสียหรือเกิดเหตุต่าง ๆ ต่างฝ่ายต่างอาจอ้างได้ว่าปัญหาเกิดจากอีกแบรนด์ แต่ถ้าเป็นแบรนด์ SolarEdge รับประกันได้ว่าทั้งอินเวอร์เตอร์และ Power Optimizer จะเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาตรงนี้ และทำงานร่วมกับอินเวอร์เตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
SolarEdge เป็นผู้นำอันดับ 1 ด้านอุปกรณ์ Power Optimizer ด้วยมาตรฐาน NEC ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 SolarEdge มีฟังก์ชั่น SafeDCTM ซึ่งให้ความปลอดภัยใกล้เคียงกับ Rapid Shutdown ต่างกันที่เงื่อนไขเวลาเท่านั้น ปัจจุบันมีผลงานทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างแพร่หลาย จึงมั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ฟังก์ชั่น Rapid Shutdown ของ SolarEdge ทำงานได้อย่างแน่นอน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน